สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่
สุภาษิต ดูช้างให้ดูหางดูนางให้ดูแม่ หมายความว่า การพิจารณาเลือกผู้หญิงที่จะมาเป็นคู่ครอง
โดยให้ดูแม่ของผู้หญิงคนนั้นประกอบ เพราะลูกจะดีได้ก็ต้องมาจากแม่ที่ดี
ที่มาของสุภาษิต
เวลาช้างตกลูกให้ดูลักษณะของหางว่าเป็นช้างดีหรือช้างเผือก
เพราะที่ปลายหางของมันยังเหลือให้เห็นสีขาวอยู่ตามเรื่องที่เล่าว่า เวลาช้างพังตกลูกเป็นช้างเผือกสีประหลาด
พวกช้างพลายและช้างพังจะช่วยกัน ย้อม กลายลูกมันเสีย ด้วยการใช้ใบไม้หรือขี้โคลนดำ
ๆ พ่นทับ เพื่อมิให้คนรู้ว่าเป็นช้างเผือกแล้วมาจับไป หรืออย่างไรไม่แน่ชัด แต่การย้อมลูกของมันด้วยสีเผือกให้เป็นสีนิลนั้น
ก็ยังเหลือร่องรอยอยู่อย่างหนึ่ง คือที่ปลายหางเป็นสีขาว เหตุนี้เขาจึงให้สังเกตลักษณะของช้างเผือกที่ตรงหางไว้เป็นหลักสำคัญ
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
“นี่คุณอยากจะหาแฟนให้ลูกก็ไม่เห็นต้องไปหาที่ไหนไกล
ดูช้างให้ดูหางดูนางให้ดูแม่นะคะ คุณออยที่อยู่ตรงข้ามบ้านเรามีลูกสาวท่าทางเข้าที
เพราะแม่ก็ดูเป็นกุลสตรี เรียบร้อย ลูกสาวก็ต้องเหมือนแม่จริงไหม”
เด็ดบัวไม่ไว้ใย
สุภาษิต เด็ดบัวไม่ไว้ใย หมายความว่า
การตัดความสัมพันธ์กันอย่างเด็ดขาด ตัดญาติขาดมิตร โดยไม่ต้องมาข้องเกี่ยว
หรือมีเยื่อใยต่อกันอีกมักใช้เข้าคู่กับ เด็ดดอกไม่ไว้ขั้วว่า เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว
เด็ดบัวไม่ไว้ใย บางทีก็ใช้ว่า เด็ดบัวไม่เหลือใย
ที่มาของสุภาษิต
การที่เอาดอกบัวมาเปรียบก็เพราะเหตุที่ว่า
ดอกบัวนั้นถ้าเราหักก้านดอกลง ตรงรอยหักมักจะมีเยื่อหรือใยก้านติดอยู่
ไม่ค่อยขาดจากกันง่าย
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
“พอสิ้นบุญผู้ใหญ่
ญาติพี่น้องต่างก็แย่งชิงทรัพย์สมบัติมาเป็นของตน ทะเลาะกันจนถึงขั้นตัดบัวไม่ไว้ใยกันเลย”
ขว้างงูไม่พ้นคอ
สุภาษิต ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายความว่า การที่คนคนนั้นมีปัญหา
หรือเรื่องที่ตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่พยายามปัดปัญหานั้นออกไปให้พ้นตัว
แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขหรือปัดปัญหานั้นออกไปได้ ต้องได้รับผลจากปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ดี
ที่มาของสุภาษิต
มาจากการสมมุติขึ้นว่าเราจะขว้างงูออกไปให้พ้นตัว
แต่งูนั้นตัวยาวจึงไม่สามารถขว้างออกไปให้พ้นตัวได้ เพราะงูใช้หางรัดคอผู้ขว้างได้
ดังนั้นผู้ขว้างจึงไม่สามารถขว้างงูให้พ้นจากตนเองได้คำว่า งู เปรียบเปรยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัว
ตัวอย่างการนำไปใช้
“สมานเป็นคนขโมยเงินของพ่อที่อยู่ในลิ้นชัก
แต่พอพ่อถามก็พยายามบอกปัดไป แต่ขว้างงูไม่พ้นคอสุดท้ายก็ถูกพ่อจับได้”
น้ำกลิ้งบนใบบอน
สุภาษิต น้ำกลิ้งบนใบบอน หมายความว่า คนที่มีจิตใจเรรวน ไม่มั่นคง
ไม่แน่นอน พูดจากลับกลอก แก้ตัวไปเรื่อย
ที่มาของสุภาษิต
เนื่องจากใบบอนจะมีผิวที่เป็นขนเล็กๆ
และไม่ซึมซับน้ำ ทำให้เวลามีน้ำไปนั้นจะทำให้น้ำกลิ้งไปมาจึงนำมาเปรียบเปรย
ตัวอย่างการนำไปใช้
“เธอจะไปเอาอะไรกับคนประเภทน้ำกลิ้งบนใบบอนแบบนี้
เอาแน่นอนไม่ได้หรอกอย่าไปไว้ใจเขาเลย”
ตักบาตรอย่าถามพระ
สุภาษิต ตักบาตรอย่าถามพระ หมายความว่า การจะให้ของสิ่งใดแก่ผู้ที่เขาเต็มใจรับของสิ่งนั้นอยู่แล้ว
ไม่ควรถามว่าอยากได้หรือไม่
ที่มาของสุภาษิต
พระเป็นคำที่ใช้เรียกภิกษุสงฆ์ซึ่งออกรับบิณฑบาตตามที่ญาติโยมจะถวายใส่บาตรให้
พระจึงเป็นผู้เต็มใจรับของใส่บาตรอยู่แล้ว
ตัวอย่างการนำไปใช้
“หัวหน้าอย่าตักบาตรถามพระเลยค่ะ
จะจัดทริปไปเที่ยวญี่ปุ่นให้พนักงานทั้งที มีใครจะไม่อยากไปบ้างคะ"
ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
สุภาษิต ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า หมายความว่า การบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
โดยที่ผู้อื่นไม่เต็มใจ
ที่มาของสุภาษิต
มาจากการที่วัวไม่สบายจึงไม่ยอมกินหญ้า
แต่ก็บังคับกดหัววัวเพื่อให้มันกิน
ตัวอย่างการนำไปใช้
“ฉันไม่ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้าหรอก ถึงฉันรักเธอแต่เธอไม่ได้รักหรือชอบพอฉัน
ฉันก็คงจะไปบังคับกันไม่ได้”
ได้แกงเทน้ำพริก
สำนวน ได้แกงเทน้ำพริก หมายความว่า การที่ได้ของใหม่ลืมของเก่า
มักจะใช้กับคู่สามีภรรยาที่สามีทิ้งภรรยาไปมีคนใหม่
ที่มาของสำนวน
น้ำพริกเราจะหมายถึงภรรยาเก่าเพราะน้ำพริก
เป็นอาหารประจำวันของคนไทยเราที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนแกงหรือผัด และมักจะมีประจำเกือบทุกมื้อก็ว่าได้
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
“เขาก็เป็นพวกได้แกงเทน้ำพริกพอได้ภรรยาเป็นสาวสวยรุ่นลูก
ก็ไม่สนใจเหลียวแลภรรยาเก่าอีกเลย”
ปลาหมอตายเพราะปาก
สำนวน ปลาหมอตายเพราะปาก หมายความว่า คนที่ชอบพูดพล่อย ๆ
รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือพูดแสดงความอวดดี จตัวเองต้องรับเคราะห์ก็เพราะปากของตนเอง
มักใช้อธิบายคนที่ปากไว ชอบพูดพล่อยๆ พูดจาไม่ระมัดระวังปาก จนเผลอพูดคำที่ไม่เหมาะสมออกมา
ทำให้ย้อนกลับมาหาตัวผู้พูดเอง
ที่มาของสำนวน
ปลาหมอที่อยู่ในลำน้ำ
มักชอบผุดขึ้นฮุบเหยื่อหรือน้ำบ่อย ๆ จนเป็นที่สังเกตของนักจับปลาได้ว่า
ปลาหมออยู่ตรงไหน ก็เอาเบ็ดล่อลงไปตรงนั้นไม่ค่อยพลาด จึงเรียกว่า
ปลาหมอตายเพราะปาก
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
“พนักงานคนนั้นถูกพักงานเพราะไปนินทาลูกค้าให้เพื่อนร่วมงานฟัง
แต่ลูกค้าบังเอิญมาได้ยิน เรื่องจึงไปถึงผู้จัดการ ปลาหมอตายเพราะปากจริงๆ”
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
สำนวน ฝนทั่งให้เป็นเข็ม หมายความว่า
เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล นิยมใช้อธิบายการมีความพยายามถึงขีดสุด
ทำงานที่ยากจะสำเร็จให้เสร็จสิ้นลงได้เป็นผลสำเร็จ
ที่มาของสำนวน
ก้อนทั่งเป็นก้อนเหล็กที่มีขนาดใหญ่
หากฝนให้บางลงจนเป็นเข็ม จะต้องใช้ความพยายามอย่างสูงและอดทนอย่างมากจึงใช้มาเปรียบเปรยถึงความพยายาม
อกทนเป็นอย่างสูง
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
“กนกวรรณ
เป็นคนที่ไม่ตั้งใจเรียนแต่เขาคิดได้จึงพยายามและอดทนอย่างหนักในการเรียน
เหมือนฝนทั่งให้เป็นเข็มจริงๆ”
กบในกะลาครอบ
สำนวน กบในกะลาครอบ หมายความว่า ผู้ที่คิดว่าตนมีความรู้มาก
แต่ที่จริงแล้วมีความรู้และประสบการณ์น้อยมาก จำกัดอยู่ในกรอบแคบๆเท่านั้น
ที่มาของสำนวน
สำนวนนี้เปรียบเปรยถึงกบที่อยู่ในกะลา
ซึ่งไม่เคยออกไปเผชิญกับโลกภายนอก ดังนั้นจึงมีความรู้ความเชี่ยวชาญอยู่ในกะลา
อยู่ในพื้นที่แคบ ๆ ของตนเท่านั้น
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
“วันนี้คุณแม่ได้ชวนน้องมนต์ไปเที่ยวท้องฟ้าจำลองเพื่อหาความรู้ใหม่ๆจะได้ไม่เป็นกบในกะลาครอบ”
รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
สำนวน รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง หมายความว่า
การกระทำใดๆของตนที่ได้ผลออกมาไม่ดี แต่กลับโทษคนอื่นหรือสิ่งอื่น
แทนที่จะโทษตัวเอง
ที่มาของสำนวน
โบราณเปรียบไว้เหมือนกับการร่ายรำที่ออกมาไม่ดี
แทนที่จะโทษตัวเอง แต่กลับไปโทษปี่กลองผู้ให้จังหวะ
ตัวอย่างการนำไปใช้
“ยุภาพรทำคะแนนสอบได้ไม่ดีเพราะไม่ยอมอ่านหนังสือ
เมื่อผลคะแนนออกมาเธอจึงโทษคนอื่นไปทั่ว รำไม่ดีโทษปี่โทษกลองจริงๆแบบนี้”
ฆ้องปากแตก
สำนวน ฆ้องปากแตก หมายความว่า ปากโป้ง
เก็บความลับไม่อยู่ ชอบนําความลับของผู้อื่นไปโพนทะนา
ที่มาของสำนวน
ตัวอย่างการนำไปใช้
“เจ้านายเริ่มไม่ไว้ใจคนที่เป็นฆ้องปากแตกเช่นเขา
เพราะเขาเก็บความลับไม่อยู่กลัวว่าซักวันหนึ่งความลับของบริษัทจะไปเข้าหูฝ่ายตรงข้ามที่เป็นคู่แข่ง”
สอนจระเข้ว่ายน้ำ
สำนวน สอนจระเข้ว่ายน้ำ หมายความว่า สอนให้คนที่เป็นอยู่แล้วให้เก่งหรือชำนาญขึ้นไปอีก มักหมายเฉพาะถึงการสอน
ที่มาของสำนวน
เปรียบเปรยถึงการสอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ
ซึ่งมนุษย์ไม่มีทางที่จะว่ายน้ำได้เก่งกว่าจระเข้
ตัวอย่างการนำไปใช้
“คุณตาโดนต่อต่อยเลยไปหาหมอ
แต่เมื่อไปถึงคุณตาก็ได้ถกเถียงคุณหมอและมีการบอกคุณหมอว่าเวลาต่อต่อยต้องเอามือไปผิงไฟยิ่งพูดคุณตายิ่งสอนจระเข้ว่ายน้ำ”
กินน้ำใต้ศอก
สำนวน กินน้ำใต้ศอก หมายความว่า การจำยอมตกอยู่ในสถานะที่เป็นรองเขา
ไม่สามารถเทียมหน้าเทียมตาเสมอเขาได้
ที่มาของสำนวน
คนในสมัยก่อนอธิบายว่า
คนหนึ่งเอาสองมือรองน้ำมากิน มากิน
อีกคนหนึ่งรอหิวไม่ไหวเลยเอาปากเข้าไปรองน้ำที่ไหลลงมาข้อศอก
ของคนกอบน้ำกินนั้นเพราะรอหิวไม่ทันใจ
ตัวอย่างการนำไปใช้
“ถ้าคุณไม่หย่าขาดกับภรรยา
ฉันก็จะเป็นคนไปเอง เพราะฉันจะไม่ทนกินน้ำใต้ศอกแบบนี้ตลอดไปแน่ ๆ ”
น้ำลดตอผุด
คำพังเพย น้ำลดตอผุด หมายความว่า
ความชั่วเมื่อทำไว้ในเวลาที่ตนมีอำนาจนั้น อาจไม่มีใครทราบ แต่เมื่อหมดบุญ
หมดอำนาจ บรรดาความชั่วที่ปิดบังกันไว้นั้น ก็จะปรากฏออกมา
ที่มาของคำพังเพย
เปรียบเปรยถึงเวลามีน้ำมากก็จะมองไม่เห็นตอไม้
แต่เมื่อน้ำลดก็จะเห็นตอไม้โผล่ขึ้นมา
ตัวอย่างการนำไปใช้
“นักการเมืองหลายๆคน
พอหมดวาระหมดอำนาจ ฝ่ายตรงข้ามก็จะเปิดโปงเรื่องโกงกิน เรื่องคอรัปชั่นที่เคยทำมา
น้ำลดตอผุดจริงๆ”
เขียนด้วยมือลบด้วยตีน
คำพังเพย เขียนด้วยมือลบด้วยตีน หมายความว่า ผู้ที่ทำดี หรือสัญญาอะไรไว้แต่แรก
จนเป็นที่เชื่อถือแล้ว แต่ภายหลังกลับทำความชั่วลบล้างความดีที่ตนได้ทำไว้
หรือไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ตั้งแต่แรก
ที่มาของคำพังเพย
คนสมัยก่อนได้ นำ มือ มาเปรียบเปรยถึงการทำสิ่งที่ดี และ ‘เท้า’ เปรียบเปรยสิ่งที่ไม่ดี
ส่วนคำว่า เขียน เป็นตัวแทนของการสร้าง และคำว่า ลบ คือการลบล้างหรือทำลาย
จึงเกิดเป็นสำนวน ” เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า ”
ตัวอย่างการนำไปใช้
“พัชรพรได้ให้สัญญากับเพื่อนๆว่าต่อให้มีปัญหาอะไรเธอก็อยู่ข้างๆเสมอแต่ตอนนี้เธอไปอยู่กับกลุ่มเพื่อนใหม่แล้ว
เขียนด้วยมือลบด้วยตีนจริง ๆ”
ขิงก็รา ข่าก็แรง
คำพังเพย ขิงก็รา ข่าก็แรง หมายความว่า
ต่างฝ่ายต่างไม่ถูกกัน
ไม่ยอมซึ่งกันและกัน เจอกันทีไรก็ทะเลาะกันอย่างรุนแรง
ที่มาของคำพังเพย
ขิงและข่าเป็นสมุนไพรที่มีรสเผ็ด
เมื่อนำมาทำอาหาร เราจึงไม่นิยมใช้ร่วมกัน เพราะรสชาติของขิงและข่าจะตีกันเอง
ตัวอย่างการนำไปใช้
“คุณตากับคุณยายจะมีการถกเถียงกันตลอดไม่มีใครยอมใครแรงด้วยกันทั้งคู่เรียกได้ว่าขิงก็ราข่าก็แรงแต่ทั้งสองก็ยังคงครองรักกันยาวนาน”
ถี่ลอดตาช้าง
ห่างลอดตาเล็น
คำพังเพย ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น หมายความว่า การที่ดูเหมือนว่าจะมีความละเอียดรอบคอบดีแล้ว
แต่ความจริงยังมีช่องโหว่ที่เป็นอันตรายที่ยังต้องแก้ไขต่อ เพื่อป้องกันความเสี่ยงอีก
และบางครั้งใช้เปรียบเปรยถึงการประหยัดในสิ่งที่ที่ไม่ควรประหยัด
แต่กลับสุรุ่ยสุร่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น
ที่มาของคำพังเพย
ตัวอย่างการนำไปใช้
“ช่วงนี้บริษัทมีการเข้มงวดกวดขันมากเป็นพิเศษและจะมีการตรวจสอบหาอาวุธตามร่างกายโดยเฉพาะกับผู้ชาย
ส่วนผู้หญิงเจ้าหน้าที่เกรงว่าจะไม่เหมาะสมในการตรวจสอบจึงละเว้น แบบนี้ก็เข้าทำนองถี่ลอดตาช้าง
ห่างลอดตาเห็นชัดๆ”
ทำนาบนหลังคน
คำพังเพย ทำนาบนหลังคน หมายความว่า การหาประโยชน์จากผู้อื่นโดยใช้วิธีเบียดเบียนและขาดความมีมนุษยธรรม
ที่มาของคำพังเพย
“คุณแม่จ๋าเมื่อไหร่พวกทำนาบนหลังคนจะหมดไปคะประเทศชาติจะได้เจริญขึ้นและเราจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นใช่ไหมคะคุณแม่”
ชักซุงตามขวาง
คำพังเพย ชักซุงตามขวาง หมายความว่า การทำอะไรที่ไม่ถูกวิธี
ย่อมได้รับความยากลำบากหรือการขัดขวางผู้ที่มีอำนาจย่อมได้รับความเดือดร้อน
ที่มาของคำพังเพย
ในอดีตมีการทำอาชีพตัดไม้
เวลาชักซุงหรือลากซุงก็จะผูกเชือกที่ปลายแล้วชักหรือลากตามความยาวของท่อนซุง
เพราะสามารถชักหรือลากซุงไปในที่แคบๆได้
อีกทั้งยังลดแรงเสียดทานระหว่างซุงกับพื้นอีกด้วย
ตัวอย่างการนำไปใช้
“พนักงานครัวคนใหม่ทำอาหารโดยไม่ครบขั้นตอนการทำให้รสชาติอาหารออกมาไม่อร่อยเหมือนเดิมเมื่อลูกค้าทานเข้าไปจึงมีการต่อว่าพนักงานและผู้จัดการสาขาเป็นการชักซุงตามขวางจริงๆ”
จัดทำโดย
น.ส.ปวีณา
พึ่งอำนวย รหัส ๐๓๔
น.ส.
พัชรพร เพชรพันธ์ รหัส๐๓๗
ครุศาสตร์ภาษาไทย รุ่น ๕๙ / ๐๔
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น